วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

9 วิธี ป้องกันภัยของผู้หญิง






มีบ่อยครั้งที่ผู้หญิงต้องตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่างๆ

อาจเพราะว่าหลายคนมักเชื่อว่า
ผู้หญิงอ่อนแอเกินกว่าที่จะป้องกันตัวเองได้
รวมไปถึงความประมาทเลินเล่อเพียงเชื่อว่าเหตุการณ์ร้าย ๆ
คงไม่เกิดขึ้นกับเราหรอกนะ
ดังนั้น เราลองมาดูวิธีต่างๆกันว่า หากผู้หญิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายแล้ว เราควรจะทำอย่างไรเพื่อเอาชีวิตรอดกันดี

1. เกร็ดความรู้จากศาสตร์ป้องกันตัว
ตามหลักของวิชาเทควันโด้กล่าวไว้ว่า ข้อศอกเป็นจุดที่แข็งแกร่งที่สุดของร่างกาย หากถูกทำร้าย หรือกำลังจะถูกทำร้าย และคุณอยู่ในระยะที่ใกล้พอ จงใช้ข้อศอกให้เป็นประโยชน์ โดยการถองกบาลหรือกกหูมันแรงๆ

2. เขวี้ยงกระเป๋าไปไกลๆ
ข้อแนะนำจากหนังสือแนะนำนักท่องเที่ยวเมืองนิวออร์ลีนส์เขียนไว้ว่า
หากผู้หญิงถูกโจรจี้และขอกระเป๋าถือหรือกระเป๋าสตางค์ อย่ายื่นกระเป๋าให้โจร แต่ให้เขวี้ยงกระเป๋าไปไกลๆ เพราะเป็นไปได้ว่าเจ้าโจรนั่นอาจสนใจเงินหรือข้าวของในกระเป๋ามากกว่าตัวคุณมันจะวิ่งไปคว้ากระเป๋าที่คุณโยนออกไป ทีนี้ก็จงวิ่งอย่างไม่คิดชีวิตไปในทิศทางตรงกันข้าม

3. “สติ” และประสาทต้องตื่นตัวอยู่เสมอ
หมั่นสำรวจรอบตัวมองข้างในรถทั้งที่นั่งข้างคนขับ พื้นรถรวมถึง เบาะหลังด้วย เพราะคนร้ายอาจแอบอยู่หลังเบาะคนขับก็เป็นได้ ซึ่งในกรณีนี้หลายคนอาจเคยได้ยินมาบ้างแล้ว

4. ล็อคประตูรถทุกครั้ง
เป็นที่พบเห็นกันบ่อยครั้งเมื่อผู้หญิงส่วนใหญ่มักมองข้ามในเรื่องของการล็อคประตูรถยนต์ เหตุการณ์ร้ายแรงส่วนหนึ่งที่หลายคนประสบก็คือคนร้ายมักเปิดประตูรถและปล้นทรัพย์สิน หรือไม่ก็เอาปืนจี้แล้วบังคับไปไหนต่อไหน ดังนั้นคุณผู้หญิงจึงไม่ควรนั่งแช่ในรถ หรือเปิดประตูรถค้างไว้

5. ขับไปให้ไกล อย่าเพิ่งจอด
หากขับรถอยู่แล้วมีคนบีบแตร โบกรถ หรือชี้มาที่รถเพื่อต้องการให้เราจอดดู คุณควรขับรถเลยไปให้ไกลจนกว่าจะเจอจุดที่มีคนพลุกพล่าน และปลอดภัยกว่าที่เดิม เพราะหลายครั้งที่มิจฉาชีพมักใช้แผนนี้ล่อลวงคนโดยเฉพาะผู้หญิง

6. ควรใช้ลิฟต์แทนการขึ้นลงทางบันได
บันไดเป็นจุดที่น่ากลัวที่สุดถ้าอยู่คนเดียว รวมทั้งเป็นจุดที่เกิดอาชญากรรมได้ดีที่สุดเพราะคนร้ายอาจอาศัยช่วงที่ไม่มีคนหลบอยู่ตามมุมบันไดต่างๆก็เป็นได้

7. หากผู้ร้ายมีปืน และคุณยังไม่ได้ถูกจี้ .. วิ่งหนี!
โอกาสที่มันจะยิงโดนคุณมีเพียง 4 ใน 100 ครั้งเท่านั้น (เป้าเคลื่อนที่) และถึงจะยิงโดน ก็เป็นไปได้มากว่าจะไม่ถูกอวัยวะสำคัญ เพราะฉะนั้น คุณควรวิ่งอย่างไม่คิดชีวิตลูกเดียว...

8. อย่าวางใจคน จะจนใจเอง
ผู้หญิงมักใจอ่อน ขี้สงสารและเห็นอกเห็นใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่การทำร้ายร่างกาย ข่มขืน หรือฆาตกรรมได้ โดยกรณีนี้มีตัวอย่างมาแล้วหลายราย อาทิฆาตกรต่อเนื่องรายหนึ่งในอเมริกาชื่อ เท็ด เบินดี้ม เป็นชายหนุ่มหน้าตาดี มีการศึกษา มักใช้กลวิธีเรียกร้องความสงสารจากเหยื่อเพศหญิงซึ่งไม่ได้เกิดความสงสัยสักนิด เขาหลอกลวงเหยื่อให้ตายใจด้วยการเดิน โดยอาศัยไม้เท้า หรือแสร้งทำขากะเผลก จากนั้นจะขอ “ความช่วยเหลือ” จากเหยื่อให้ช่วยพยุงขึ้นรถ แล้วก็ใช้จังหวะนั้นลักพาตัวไป

9. “ไฟไหม้” แทนคำว่า “ช่วยด้วย”
จากหนังสือภัยจาก 108 มงกุฏ เมื่อคุณกลับบ้านในเวลากลางคืน
หากถูกคนร้ายจี้ ชิงทรัพย์ ฯลฯ เวลาร้องขอความช่วยเหลือให้ร้องว่า “ไฟไหม้” แทนคำว่า “ช่วยด้วย” เพราะคำว่าไฟไหม้จะทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นตกใจตื่นและออกมาดูสถานการณ์ได้เร็วกว่า
ท้ายนี้ขอให้ทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิงพึงระลึกไว้เสมอว่า
”โลกใบนี้มีคนวิกลจริตอาศัยอยู่มาก … ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่าเสียใจภายหลัง
“…

วิธีลดโลกร้อน ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน

โลกร้อน - ประหยัดพลังงาน


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


           ปัจจุบันโลกของเราร้อนขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้คนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านได้นาน ๆ เหมือนแต่ก่อน ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างเช่น แอร์ พัดลม ช่วยเพิ่มความเย็น และยิ่งโลกร้อนขึ้นเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่า ผู้คนบนโลกยิ่งใช้พลังงานทำลายชั้นบรรยากาศของโลกมากขึ้นเท่านั้น . . . วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยมีวิธีดี ๆ ในการประหยัดพลังงานทุก ๆ อย่างในชีวิตประจำวันมาฝากกัน มาเริ่มต้นประหยัดพลังงานกันตั้งแต่วันนี้ ทั้งในบ้านไปจนถึงที่ทำงานกันดีกว่าค่ะ เพื่อโลกเราสดใส ไม่ร้อน

           เอ... ว่าแล้วก็ไปดูกันดีกว่าว่า คุณสามารถช่วยลดโลกร้อนในแต่ละวันอย่างไรได้บ้าง


พลังงานความร้อนและไฟฟ้า

 
           1. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานบ้าน เพื่อลดความร้อนและทำให้บ้านเย็น

           2. ตั้งตู้เย็นไว้ในที่ที่ใกล้กับประตูหน้าต่าง เพื่อความร้อนที่ระบายออกมาจะได้ไม่สะท้อนกลับไปในห้องครัว และยังช่วยประหยัดไฟอีกด้วย

           3. ในฤดูหนาวควรเปิดหน้าต่างให้ความเย็นเข้ามาในห้องตอนกลางคืน และปิดหน้าต่างตอนเช้า เพื่อให้ความเย็นภายในห้อง ไม่ถูกแทนที่ด้วยความร้อนจากแสงแดดตอนกลางวัน

           4. คุณสามารถลดความร้อนในบ้านได้ถึง 50% หากติดกระจกแบบสองชั้น เพราะจะสามารถกันความร้อนได้ และช่วยคุณประหยัดไฟฟ้าได้อีก

           5. เปิดแอร์ที่ 25 องศาเสมอ เพราะเป็นอุณหภูมิที่สบายที่สุด ที่คุณไม่ต้องนอนห่มผ้าตากแอร์เลย

           6. ติดตั้งระบบไฟฟ้าหมุนเวียนภายในบ้าน

           7. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกรด A ที่ไม่กินไฟ

           8. เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดไฟ

           9. อย่าใช้เครื่องปั่นผ้าในวันที่ฟ้าใส และแดดจัด เพราะอุณหภูมิของโลก สูงพอจะทำให้ผ้าแห้งได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงอยู่แล้ว

           10. เสื้อผ้าน้อยชิ้นควรซักเองด้วยมือ ส่วนเครื่องซักผ้าควรใช้ในวันที่มีเสื้อผ้าเต็มตะกร้า

           11. หากคุณต้องเปิดไฟในสวนหน้าบ้านทุกคืน ควรใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ชาร์จพลังงานตอนกลางวัน และเปิดไฟตอนกลางคืน

           12. ถอดสายชาร์จโทรศัพท์มือถือออกจากเบ้าเสียบทุกครั้งที่ชาร์จเสร็จ เพราะมันกินไฟโดยเปล่าประโยชน์

พลังงานน้ำ

           13. ตรวจสอบรอยรั่วของท่อประปา หรือรอยรั่วก๊อกน้ำแล้วอุดรอยรั่วนั้นให้เรียบร้อย อย่าปล่อยให้มันหยดทิ้งแม้น้อยนิดก็ตามที

           14. หากคุณจะต้มน้ำ ควรใช้หม้อต้มน้ำที่พอดีกับปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ เพราะขนาดภาชนะที่ใหญ่เกินไป มักจะทำให้เราใช้น้ำเกินความต้องการเสมอ

           15. เวลาที่ชงชา ต้มน้ำในปริมาณที่คุณจะใช้เท่านั้น แม้มันจะดูน้อยนิดเกินไป แต่อย่างน้อยก็ดีกว่าปล่อยให้น้ำร้อนที่เหลือจากการชงชาค่อย ๆ เย็นโดยไม่ได้ใช้อะไรเลย

           16. ปิดก๊อกน้ำทุกครั้งขณะที่คุณกำลังแปรงฟัน

           17. ใช้ถังชักโครกที่ประหยัดน้ำ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเปลืองน้ำไปกับการชำระล้างโถส้วม เกินความจำเป็น

           18. ใช้ฝักบัวอาบน้ำแทนการนอนแช่น้ำในอ่าง เพราะมันเปลืองน้ำกว่ามาก ๆ

อาหารและตู้เย็น

           19. ตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังด้านละประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อให้ได้ระบายความร้อนได้สะดวก

           20. ละลายน้ำแข็งในตู้เย็นเป็นประจำ

           21. อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้เป็นเวลานานเกินไป เพราะจะทำให้ความเย็นระบายออกมาหมดและทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก กินไฟมาก

           22. ไม่ควรนำอาหารอุ่น ๆ หรือร้อนแช่ตู้เย็นเป็นอันขาด ควรวางไว้ให้เย็นก่อนแล้วค่อยนำเข้าตู้เย็นอีกครั้ง

           23. ซื้ออาหารที่มีในท้องถิ่น เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องซื้อในปริมาณเยอะ ๆ แล้วนำมาตุนไว้ในช่องแช่แข็งจนไม่มีที่ว่าง

พลังงานขณะขับรถ

           24. วางแผนการเดินทางทุกครั้งก่อนออกรถ เพื่อจะได้ไม่ต้องขับวนไปวนมาคิดซ้ายคิดขวาว่าจะไปทางไหนดี

           25. ขับรถด้วยความเร็วที่คงที่เสมอ ที่สำคัญไม่ควรขับเร็วเกินความจำเป็นด้วย

           26. ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ไว้สักครู่ ก่อนออกรถ

           27. ในกรณีที่รถติดไฟแดงในแยกที่รถติดนานกว่า 2 นาทีขึ้นไป ควรดับเครื่องยนต์ก่อนแล้วค่อยสตาร์ทใหม่

           28. ไม่ควรเปิดแอร์ในรถเย็นเกินไป ใช้อุณหภูมิที่พอเหมาะเท่านั้น

           29. หากต้องเดินทางไปสถานที่ใกล้ ๆ ที่ห่างจากบ้านไม่เกิน 5 กิโลเมตร ควรใช้วิธีเดินหรือปั่นจักรยานดีกว่า

           30. อุปกรณ์แต่งรถหลาย ๆ อย่าง สามารถกินพลังงานเกินความจำเป็นได้ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องบอกทาง เป็นต้น

           31. นำรถเข้าอู่เป็นประจำ เพื่อเช็คสภาพและการทำงานต่าง ๆ ของรถ

พลังงานขณะทำงาน

           32. แม้ว่าคุณจะไม่ได้จ่ายค่าไฟที่ทำงานเอง แต่ก็ควรใช้ไฟเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยปิดไฟดวงที่ไม่ใช้หรือในห้องที่ไม่มีใครอยู่ เพื่อช่วยโลกประหยัดไฟ

           33. ปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์เมื่อคุณต้องลุกออกไปที่ไหนนาน ๆ เช่น ทานข้าว ไปประชุม หรือแม้แต่ออกไปยืดเส้นยืดสาย

           34. ใช้กระดาษทั้งสองหน้า อย่าใช้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

           35. หากสามารถเปิดหน้าต่างได้ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดแอร์ในวันที่อากาศสบาย ๆ

           36. ควรใช้ลิฟต์ในออฟฟิศพร้อม ๆ กับคนอื่น ขณะเดียวกัน คุณสามารถเดินขึ้นบันไดได้หากห้องทำงานของคุณไม่ได้อยู่สูงถึงชั้น 7

           37. สำหรับข้อมูลบางอย่างที่สามารถอ่านผ่านคอมพิวเตอร์ได้ บางครั้งคุณก็ไม่จำเป็นต้องปรินท์เอาท์ออกมา
บทบาทของพระสงฆ์กับสังคมไทย
พระราชสุทธิญาณมงคล
กิจกรรมของสงฆ์
                    ๑. สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
                    ๒. สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
                    ๓. สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
                    ๔. สิ่งที่ควรจะพัฒนา - ทำความเจริญทั้งรูปธรรม - นามธรรม

วัดจะต้องมีกิจกรรมอยู่ ๕ ประการ
                    ๑. วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
                    ๒. วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
                    ๓. วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
                    ๔. วัดและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
                    ๕. วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน

เป้าหมายกิจกรรมของสงฆ์ ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม
                    ๑. ปกครองวัดมีระเบียบรัดกุม
                    ๒. บริเวณวัดสะอาดร่มรื่น
                    ๓. มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์ต่อสังคม และประชาชน

                    การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง ๓ ประการนั้น มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ

                          ๑. สงฆ์ คือ พระในวัด
                          ๒. สมณธรรม คือ ทำกิจวัตร ลงอุโบสถ บิณฑบาต สวดมนต์ไหว้พระ กวาดอาวาสลานพระเจดีย์ รักษาผ้าครอง อยู่ปริวาสกรรม โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ ศึกษาสิกขาบท และปฏิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ เทศนาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
                          ๓. เสนาสนะ คือ ที่อยู่อาศัย
                          ๔. สวัสดิการ คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
                          ๕. สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
                          ๖. สัปบุรุษ คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
                          ๗. สังฆาธิการ คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
                          ๘. สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์

การกิจกรรมสงฆ์ต้องดำเนินการ
                    ๑. การจัดบริเวณอาคาร เสนาสนะ ให้สะอาดเรียบร้อยและร่มรื่น
                    ๒. การปกครองบุคคลที่อาศัยอยู่ในวัด ให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อย ให้พระภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย
                    ๓. ให้วัดทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม

กิจกรรมของสงฆ์ ช่วยเหลือสังคม

                    ๑. ศีลธรรม วัฒนธรรม
                    ๒. สุขภาพอนามัย
                    ๓. สัมมาชีพ
                    ๔. สันติสุข
                    ๕. ศึกษาสงเคราะห์
                    ๖. สาธารณสงเคราะห์
                    ๗. กตัญญูกตเวทิตาธรรม
                    ๘. สามัคคีธรรม

ประชาชนคือใคร ?

                    ประชาชน คือ คนทั้งปวง ที่ร่วมชะตากรรม อยู่ในบ้านเมืองเดียวกัน ดังนั้น ประชาชน คือ ชาติ คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวของประชาชน คือ ศาสนา ผู้นำของประชาชน คือ พระมหากษัตริย์

ประชาชนต้องการอะไร ?
                    ประชาชนต้องการประเทศที่มั่นคง ปลอดภัย และเจริญก้าวหน้าโดยเฉพาะ คือ
                    ๑. มีปัจจัยสี่เพียงพอ สำหรับดำรงชีวิต สำหรับตนเอง และครอบครัว
                    ๒. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                    ๓. ประชาชนต้องการบ้านเมือง มีความสงบ-สันติ และสังคมที่เป็นธรรม
                    ๔. ประชาชนต้องการมีความสุขทางจิตใจ

ประชาชนหวังความช่วยเหลือจากภิกษุสงฆ์อย่างไร ?
                    ๑. ประชาชนต้องการ ตัวอย่างมองความดีงาม และผู้นำทางคุณธรรม โดยเฉพาะความเคร่งครัดทางวินัย และความเป็นผู้สันโดษมักน้อย
                    ๒. ประชาชนต้องการ วัดเป็นที่พึ่งพักพิงทางจิตใจของผู้มีทุกข์ ต้องการเห็นวัดเป็นที่สงบ เยือกเย็น สะอาดร่มรื่น มีระเบียบ
                    ๓. ประชาชนต้องการ เห็นพระภิกษุเข้าหาประชาชน ปลอบขวัญ ให้กำลังใจ แนะแนวทางแก้ปัญหาชีวิตให้
                    ๔. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชนบท ให้ความร่วมมือสนับสนุนให้เกิดการรวมพลัง แก้ปัญหาต่าง ๆ
                    ๕. ประชาชนต้องการ ให้วัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาด้านต่าง ๆ ทั้งด้านหลักธรรมของพระศาสนา และการอาชีพ การปฏิรูปจิตใจของประชาชน ควรริเริ่มที่วัด

ภัยของพระภิกษุที่ต้องแก้มี ๓ ประการ
                    ๑. ความเสื่อมศรัทธาของประชาชน
                    ๒. ความไม่ต้องการของประชาชน
                    ๓. ความพยายามทำลายของประชาชน

                    วิธีแก้ภัยอันนี้ คือ
                         
๑. คณะสงฆ์สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้
                          ๒. ให้พระภิกษุสามเณร สามารถเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนได้
                          ๓. ให้พระศาสนา สามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจในด้านปกครองตน ของประชาชนได้

                    วิธีการแก้ภายในโดยอาศัยหลัก ลด ๕ ว่าง สร้าง ๕ ร่วม
                    ลด ๕ ว่าง คือ
                          ๑. สมองว่าง
                          ๒. ช่องว่างระหว่างบุคคล
                          ๓. เวลาว่าง
                          ๔. ทรัพย์พยากรณ์ว่าง
                          ๕. การนำว่าง

                    สร้าง ๕ ร่วม
                          ๑. ร่วมทุน
                          ๒. ร่วมคิด
                          ๓. ร่วมผลิต
                          ๔. ร่วมขาย
                          ๕. ร่วมป้องกัน

คุณธรรมของผู้นำ
                    ๑. มีความรับผิดชอบ
                    ๒. มีความสุภาพสมบูรณ์ ทั้งอ่อนโยนและอ่อนหวาน
                    ๓. มีความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ต่อหน้าที่และสังคม
                    ๔. มีความเสมอต้น เสมอปลาย
                    ๕. มีความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจกัน ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เด็กและผู้ใหญ่
                    ๖. มีความสุขุมรอบคอบ ในภาระกิจทั่วไป
                    ๗. สามารถแก้ไขคลี่คลาย แก้ปัญหาชีวิต และปัญหาสังคม และเหตุเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สถานการณ์ปัจจุบัน ได้ทันท่วงที
                    ๘. ประกอบด้วยเมตตาธรรม ต่อหน้าและลับหลังในสังคมของเรา

พัฒนาเพื่อลดปัญหาความขาดแคลน และความแตกแยกต้องพัฒนา ๕ ประการ
                    ๑. พัฒนาความเป็นอยู่ของเรา ให้อยู่ง่ายขึ้น อย่าให้ยุ่งยากนัก
                    ๒. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เรียบ ๆ อย่าให้หรูหรานัก
                    ๓. พัฒนาความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับฐานะ
                    ๔. พัฒนาใจให้ยึดมั่นความจริงเป็นหลัก
                    ๕. ให้ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวหลัก ของญาณการพัฒนาที่อยู่ด้วยความถูกต้องทุกประการ

วิธีสร้างความดีต่อบุคคลอื่น
                    ๑. ช่วยเหลือผู้อื่นทำความดี
                    ๒. รักและเคารพทุกคน อย่างเสมอหน้า
                    ๓. สนับสนุนผู้อื่นให้มีความดีพร้อม
                    ๔. ชี้ทางให้ผู้อื่นทำความดี
                    ๕. ช่วยเหลือผู้อื่น ผู้ที่อยู่ในความคับขัน
                    ๖. กระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
                    ๗. ไม่ทำตนเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์ หมั่นบริจาค
                    ๘. ธำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรม
                    ๙. เคารพผู้มีอาวุโสกว่า
                    ๑๐. รักชีวิตผู้อื่น ดุจรักชีวิตของตนเอง

พระสงฆ์กับการพัฒนาสังคมไทย
                    ๑. พระสงฆ์ต้องมีประสิทธิภาพ
                    ๒. การพัฒนาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของชีวิต และสิ่งทั้งหลาย ที่เนื่องด้วยชีวิตคน เพราะคนและสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตคนทุกประการ ย่อมมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการพัฒนา ถ้าไม่มีการพัฒนา หรือหยุดการพัฒนา ก็ย่อมหมดชีวิต คือ ถึงความสิ้นสุดทันที
                    ๓. คำว่า พัฒนา ท่านแปลว่า ความเจริญ คำว่า ความเจริญ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสมชีวิตทุกชีวิต และสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิตทุกอย่างย่อมแปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน ตราบใดที่ยังเป็นชีวิตอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ ก็จะหนีความเปลี่ยนแปลงไปไม่พ้น เพราะถ้าหยุดเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ย่อมถึงความสิ้นสุดเมื่อนั้น
                    ๔. ความเปลี่ยนแปลงนั้นมีสองทาง คือ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม ๑ กับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เหมาะสมอีก ๑ ความเปลี่ยนแปลงในทางที่เหมาะสม เรียกว่า ความเจริญ ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสม เรียกว่า ความเสื่อม
                    ๕. พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ก็จัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยชีวิต จึงต้องอยู่คู่กับการพัฒนา ถ้าขาดการพัฒนาก็หมดชีวิต หรือขาดชีวิต เพราะไม่มีชีวิต
                    ๖. คำว่า ชีวิต หมายถึง ความปรากฏอยู่แห่งผลของการงาน และหน้าที่ ชีวิตคนก็คือ ความปรากฏอยู่แห่งการงานที่จริงของคน อันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของคน ซึ่งเกิดมาเพื่อช่วยกันสร้าง มิใช่คอยมุ่งช่วยกันทำลายชีวิตของพระสงฆ์ในวัดพระพุทธศาสนา จึงได้แก่แหล่งที่ปรากฏออกมา ซึ่งผลแห่งการงานของพระพุทธศาสนา ซึ่งปกคลุมอยู่ด้วยความปกติสุข และความสงบสุขทุกประการ ตลอดเวลา
                    ๗. วัดในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นและดำรงอยู่ด้วยความมุ่งหมาย ดังต่อไปนี้ คือ

                          ๑) เพื่อประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความมุ่งหมายให้คนทำความดี เพื่อช่วยตนและคนอื่นให้มีความปกติสุข เว้นการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
                          ๒) เพื่อเป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ผู้มีหน้าที่ดำรงพระพุทธศาสนาไว้เพื่อตนและประชาชน โดยการกระทำ ๓ ประการ คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ๑ ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย ๑ เพื่อตนกับเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน เพราะทุกวันนี้ ได้ยินแต่เสียงที่สอนให้ทำดี แต่คนที่ทำดีให้เห็นหายากอย่างยิ่ง ๑ ตั้งใจสอนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยถูกต้อง ๑ พระธรรมวินัยเป็นคุณความดีที่เหมาะสมแก่คนทุกคน มีความหมายคู่มือในการครองตนที่ดียิ่ง
                          พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยความสงบ ทำตนให้มากกว่าเป็นผู้รับ ละเว้นความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่รุนแรง ไม่ทะเยอทะยานในเรื่องลาภ ยศ มีน้ำใจประกอบด้วยเมตตา มีความเลื่อมใสมั่นในกฎของกรรม และมุ่งความสงบเป็นที่ตั้ง ชีวิตของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้มีความหมายที่การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อการพระศาสนา ๑ การศึกษา ๑ การสังคมสงเคราะห์ที่ไม่ขัดต่อสมณวิสัย ๑
                          ๓) เพื่อเป็นที่บำเพ็ญบุญที่มีเหตุผลของประชาชนทั่วไป
                          ๔) เพื่อเป็นแหล่งของการศึกษา และเป็นที่ก่อกำเนิดของคุณธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เป็นสำคัญ ก็คือ สัจจะ เมตตา สามัคคี มีวินัย ซึ่งเป็นหัวใจของชุมชนทั่วไป
                          ๕) เพื่อเป็นศูนย์แห่งวัฒนธรรมประจำหมู่บ้าน

                    ๘. ชีวิตวัดในพระพุทธศาสนา มีภาวะเหมือนชีวิตคนประการหนึ่ง คือ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่
                          ๑) รูป คือ ร่างประกอบด้วย ที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร คือ กุฏิ ที่บำเพ็ญกิจสงฆ์ คือ อุโบสถ ที่บำเพ็ญ คือ ศาลาการเปรียญ ที่ศึกษาเล่าเรียน คือ โรงเรียน และสถานที่อื่น ๆ ตามความจำเป็น และความต้องการที่ชอบอีกตามสมควร
                          สถานที่เสนาสนะกุฏิเหล่านี้ สร้างขึ้นให้มีขนาดเหมาะสมตามความจำเป็น มิใช่มุ่งความใหญ่โตสวยงาม ได้รับการตบแต่งให้เรียบร้อย ไม่หรูหรา เหมือนสถานที่ของชาวบ้าน บริเวณโดยรอบของเสนาสนะกุฏิและสถานที่เหล่านั้น สะอาด เรียบร้อย ปราศจากความเลอะเทอะ รกรุงรังทุกประการ
                          ๒) นาม คือ จิตใจ ประกอบด้วยสมณะสัญญา สมณะสารูป และสมณะปฏิปทา คือ การเรียน การปฏิบัติ การสอน ของพระภิกษุสามเณร กับบุญกิริยา และธรรมศึกษา สัมมาปฏิบัติ ของทายก ทายิกา ประชาชนทั่วไป วัดที่ขาดสามส่วนประกอบสำคัญ ๒ อย่างนี้ ส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ มีแต่รูป ไม่มีนาม หรือมีแต่นามไม่มีรูป หามีสภาพเป็นวัดในพระพุทธศาสนาไม่ ควรเรียกว่า ‘วัดตาย’ เพราะไม่มีทางที่จะให้เกิดประโยชน์อะไรได้

                    ๙. กระผมมีความสลดใจและเกิดความวิตกกังวลถึงภัยอันตรายที่จะมีมาสู่พระพุทธศาสนา อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดในอนาคตอันใกล้เป็นอย่างมาก ในเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คือ วัดบางวัดค่อนข้างมีจำนวนมาก ในหัวเมือง คนมีความสนใจเฉพาะการสร้างเพียงรูปวัดเท่านั้น ไม่นึกถึงการสร้างนามวัด หรือ จิตใจวัดบ้างเลย คือ พยายามสร้างกันแต่กุฏิ ศาลาการเปรียญ โบสถ์ หอสวดมนต์ หอฉัน หอระฆัง และสิ่งอื่น ๆ อย่างใหญ่โตสวยงาม หรูหรา ใช้เงินจำนวนมากโดยการรบกวนประชาชนให้ต้องจำยอมเสียสละด้วยอุบายต่าง ๆ ซึ่งไม่ตรงพุทธประสงค์ ทำให้ประชาชนเกิดความท้อถอย เสื่อมศรัทธากับต้องเดือดร้อน เพราะเรื่องสร้างวัด แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ไม่ใช้ทำอะไรตามที่แสดงเจตนารมณ์ออกมาเพื่อโฆษณาชวนเชื่อ

บทความสังคมออนไลน์ ภัยร้ายใกล้ตัว



กระแสสังคมไทยในห้วงปีที่ผ่านๆมาคงหนีไม่พ้นกระแสสังคมออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Social Network เป็นสังคมที่อยู่บนการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Virtual Community โดยสมาชิกในกลุ่มไม่จำเป็นต้องรู้จักกันอย่างสนิทสนม แต่มีหัวข้อความสนใจร่วมกัน มีบทสนทนาที่แสดงแนวคิดในเรื่องๆหนึ่งร่วมกัน กระแสการใช้ Social Network ในประเทศไทยถูกจุดทำให้เป็นที่โด่งดัง รู้จักไปทั่วในหมู่ เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยชรา ไม่เว้นแม้กระทั่ง พระสงฆ์ แต่ละคนต่างก็มีพื้นที่ส่วนตัวบนโลกออนไลน์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น HI5 Facebook Twitter ที่มีลูกเล่นต่างๆ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกันให้ผู้เล่นได้เพลิดเพลินกับการใช้งาน แต่เมื่อยิ่งมีการใช้งานกันมากขึ้นเท่าใด ความน่ากลัวและภัยร้ายจากการนำมาใช้อย่างผิดวิธียิ่งมากขึ้นตามไปเท่านั้น เราควรหันมาใส่ใจกับปัญหาการใช้ Social Network ให้มากขึ้น เพื่อให้เข้าใจและไม่ตกเป็นเหยื่อของภัยร้ายจาก Social Network
ถ้าพูดถึง Social Network ที่หลายๆคนรู้จักกันก็คงหนีไม่พ้น HI5, Facebook, Twitter หรือที่นอกเหนือจากนี้ก็มี My Space, Blogger, Flickr และอื่นๆอีกมายที่เราไม่รู้จักแต่การทำงานหลักๆของเว็บไซต์ Social Network เหล่านี้เหมือนกันตรงที่ใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยผู้ใช้จะมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นคล้ายๆกับเว็บไซต์ ใช้แสดงความคิดเห็น อัพเดตข่าวสารของตนเอง รูปภาพ ให้กับเพื่อนๆหรือใช้สำหรับค้นหาเพื่อนใหม่ๆและด้วยความที่ไม่ต้องรู้จักกันมาก่อนก็สามารถเป็นเพื่อนกันได้ทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
การใช้งาน Social Network เพื่อส่งเสริมให้มีการแสดงความเป็นตัวตนของคนเราออกมาบนพื้นที่ส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานไม่ใช่มีเพียงแค่วัยรุ่นเท่านั้นแต่ยังมีคนที่ชื่นชอบความทันสมัย และชอบการอัพเดตข่าวสารที่ฉับไวยิ่งกว่าในทีวี จึงต้องใช้บริการของ Social Network นั่นจึงทำให้เว็บไซต์ HI5, Facebook, หรือ Twitter ได้รับความอย่างมากภายในระยะเวลาไม่นานข้อดีของมันก็คือการใช้งานเครือข่ายออนไลน์เหล่านี้ฟรี นาน แต่มันก็มีข้อด้อยที่ต้องห่วงกันเป็นพิเศษก็คือ ด้วยความที่เป็นสังคมแห่งการแชร์เรื่องราวต่างๆ ผู้ใช้งานอาจมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น อีเมล์ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ อันเป็นข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผยเพราะคิดว่าไม่เป็นไร และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มิจฉาชีพซึ่งแฝงตัวอยู่ในโลกออนไลน์ใช้ข้อด้อยนี้ให้เป็นประโยชน์เพราะข้อมูลเหล่านี้แฮกเกอร์สามารถดึงออกมาในระยะเวลาอันสั้น
นอกจากจะใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแล้วเครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่านี้ยังถูกนำมาใช้ในการเชื่อมโยงสื่อสารเข้าถึงตัวของผู้มีชื่อเสียงในสังคมได้ง่าย เช่น ดารานักร้อง นักการเมือง สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆในการให้แฟนคลับและคนทั่วไปได้ติดตาม แต่ก็อาจนำมาซึ่งผู้ไม่หวังดี ต้องการทำลายชื่อเสียง ให้เจ้าของเว็บไซต์เหล่านี้ได้รับความเสียหายและอับอาย เสื่อมเสีย เช่นการด่าว่า กล่าวหา เสนอข่าวให้ร้าย หรือมีการโพสต์รูปส่วนตัวประจารให้ได้อับอายกัน หรือมีการเสนอเรื่องราวของผู้มีชื่อเสียงอาจจะเป็นรูปภาพ ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่เหมาะกับสังคมและวัฒนธรรมไทย ทำให้เกิดการเลียนแบบกัน
จากข่าวต่างๆที่ปรากฏมากมาย เช่น มีการล่อลวงกันไปข่มขืนผ่านทาง HI5 หรือ Facebook หรือมีการหลอกหลวงฉ้อโกงกัน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะข้อมูลส่วนตัว แต่ประเด็นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความจริงใจไม่สารมารถหาได้ในเครือข่ายออนไลน์ ในโลกออนไลน์คุณสามารถจะเป็นใครก็ได้ตามที่ใจคุณอยากเป็นไม่มีกฎหมายบังคับ ไม่มีข้อห้าม เมื่อนำรูปภาพ ที่อาจจะสื่อไปในทางล่อแหลม ทางเพศ เรื่องราวข้อมูลส่วนตัวมาแชร์ให้กับคนที่เริ่มรู้จักกันผ่านทางโลกออนไลน์โดยไม่รู้จักกันมาก่อน เราไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นคนยังไง แต่ก็เลือกที่จะเชื่อใจคนเหล่านั้นที่เรารู้จักเพียงผิวเผิน ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น
และนอกจากการหลอกลวงกันผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์แล้ว สิ่งเหล่านี้ยังนำมาซึ่งความเสื่อมเสียของวัฒนธรรมด้วยความที่เป็นอิสรเสรี ผู้ใช้คิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวของตนเองสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็ได้ตามแต่ใจตนเองต้องการโดยลืมนึกไปว่าสิ่งที่แสดงออกได้ปรากฏสู่สายตาของผู้อื่นทั้งที่เรารู้จักและไม่รู้จัก จากกรณีตัวอย่างของ มาร์ค V11 หรือ นายวิทวัส ท้าวคำลือ ที่ออกมาวิจารณ์กล่าวหานายกรัฐมนตรีผ่านทาง Facebook ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากมายแสดงให้เห็นถึง ความก้าวร้าว ความรุนแรงของวัยรุ่น และคนสมัยใหม่ เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบในวัยเด็ก หรือ วัยรุ่น ในสังคมยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียของวัฒนธรรมไทย
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของภัยร้ายและความน่ากลัวที่มาจาก Social Network ยังคงมีเหตุการณ์ในทางลบที่เกี่ยวกับ Social Network อีกมากมาย แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังไม่ค่อยใส่ใจกับปัญหานี้เท่าที่ควร ยังคงไม่ตระหนักคิดว่าเป็นเรื่องร้ายใกล้ตัวเมื่อไม่ได้เจอกับตัวเอง ทำให้ไม่รู้สึกระแวงถึงภัยร้ายที่แฝงมากับเครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่านี้ ทั้งยังไม่มีกฎ ข้อห้ามหรือ ข้อบังคับที่ตายตัวเกี่ยวกับปัญหาในโลกออนไลน์ ทุกคนยังคงสนุกสนานที่ได้มีส่วนร่วมบนความสนุกบนสังคมในรูปแบบใหม่
สุดท้ายนี้ คงไม่มีใครสามารถห้ามไม่ให้ใครทำอะไรบนโลกออนไลน์นี้ได้เราคงได้แต่ห้ามใจตัวของเราเองไม่ให้หลงมัวเมาและตกเป็นเหยื่อของ สังคมออนไลน์ ภัยร้ายใกล้ตัวเรานี้
รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา adis@nida.ac.th
คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

เหตุการณ์น้ำท่วมน้ำแล้งและดินโคลนถล่ม กำลังส่งสัญญาณสำคัญว่าประเทศไทยจะปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างไร้ทิศทางอย่างนี้หรือ?  ให้ใครก็ตามที่มีเงิน เศรษฐีต่างชาติ นักการเมือง หรืออดีตข้าราชการผู้ใหญ่สามารถใช้เงินวิ่งเต้นทำอะไรก็ได้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและให้ประเทศต้องรับภาระความเสียหาย กรณีน้ำท่วมประเทศไทยที่สร้างความสูญเสียมหาศาลถูกอ้างเสมอว่า เกิดขึ้นเพราะฝนตกชุกฝนตกมาก แต่แท้จริงแล้วต้นตอสำคัญของน้ำท่วมคือการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทจากการแสวงหาประโยชน์

เราเห็นการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง  เราเห็นพื้นที่ชายเขากลายเป็นสวนยางพาราหรือไร่ส้มและทำให้ชุมชนด้านล่างต้องเผชิญกับปัญหาดินโคลนถล่ม  กลุ่มทุนใช้พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้ทำลายความสามารถของธรรมชาติในการทำหน้าที่เป็นฟองน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติเพื่อดูดซับน้ำฝนและอุ้มน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งจนนำมาสู่ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้   ที่ดินที่จัดไว้เพื่อเกษตรกรรมย่านรังสิตแปรสภาพไปเป็นหมู่บ้านจัดสรร   พื้นที่ๆ ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา ถูกล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม เราเห็นการสร้างบ้านเรือนบุกรุกเข้าไปในทางไหลของน้ำ  มีการสร้างบ้านจัดสรร ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขวางทางน้ำ  นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวเข้าไปในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียวและมีโรงงานสร้างติดรั้วโรงเรียน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีบางคนในประเทศนี้ไม่เชื่อในเรื่องของการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เชื่อเรื่องการกำหนดโซนนิ่ง (zoning) หรือ การบังคับใช้ผังเมืองของประเทศนั่นเอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิส่วนบุคคลที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ความคิดเช่นนี้ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และที่สำคัญคือทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความเปราะบางไม่สามารถรองรับภัยธรรมชาติได้

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพนะครับว่า ในบ้านเราเองแท้ๆ เราจะปล่อยให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปโดยไม่มีกฎเกณฑ์เลยหรือครับ ในบ้านของเราๆ มีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น สนามหญ้า ฯลฯ ท่านคิดว่าบ้านหลังนี้จะน่าอยู่ไหมครับถ้าเราปล่อยให้มีการทอดไข่เจียวในห้องนอน มีคนเข้าไปนอนในห้องน้ำ มีการอาบน้ำในห้องนั่งเล่น หรือมีคนไปยืนปัสสาวะที่สนามหญ้าหน้าบ้าน ดังนั้น แม้แต่ในบ้านของเราเองแท้ๆ เรายังอ้างสิทธิส่วนบุคคลและทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้เลย  แล้วในระดับประเทศจะมาอ้างว่าท่านมีที่ดิน 100 ไร่ 200 ไร่ แล้วจะลงทุนทำอะไรก็ได้เพราะเป็นสิทธิของท่านก็คงจะทำไม่ได้เหมือนกันเพราะท้ายสุด แล้วสังคมโดยรวมเป็นผู้สูญเสียจากการที่เราปล่อยให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปอย่างไม่เป็นที่เป็นทาง

ดังนั้นการที่ประเทศต้องจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็น ที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทยวันนี้ และเป็นบททดสอบสำหรับนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการต่างๆ ด้วยว่าจะสามารถตั้งใจทำงานเพื่อร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศได้หรือไม่

การมีผังเมืองไทยเพื่อจัดแบ่งที่ทางให้เป็นสัดเป็นส่วนว่าพื้นที่เกษตรที่เหมาะสมจะอยู่ที่ไหน นิคมอุตสาหกรรมควรอยู่จังหวัดใดบ้างที่จะไม่ถูกน้ำท่วมได้ง่าย พื้นที่ป่าต้นน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติควรมีเท่าไหร่ ทางน้ำไหลมีเพียงพอแล้วหรือยัง และจะให้น้ำส่วนเกินไหลไปทางไหน คนจะสร้างบ้านเรือนย่านใดได้บ้าง และย่านธุรกิจจะอยู่ตรงไหน สิ่งเหล่านี้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ สร้างความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติ และที่สำคัญคือลดความขัดแย้งในสังคมไม่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่พบว่า ขณะที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งสร้างทำนบกั้นน้ำก็มีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งไปทำลายทำนบกั้นน้ำ และอื่น ๆ

การจัดแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นสัดเป็นส่วนไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ที่จะไปขัดกับหลักการทางธุรกิจอย่างที่บางคนอาจคิด ในทางตรงข้ามกลับพบว่าธรรมชาติของการทำธุรกิจเองก็มีการจัดแบ่งธุรกิจต่างๆ ตามเขตหรือตาม ?ย่าน? อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้บริโภคเองในการซื้อหาสินค้าและสะดวกสำหรับผู้ประกอบการในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เช่น ร้านทองจะรวมตัวกันแถวย่านเยาวราช ร้านผ้าจะอยู่พาหุรัด อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่แถวคลองถม ร้านต้นไม้รวมตัวกันที่อยู่ที่รังสิต เป็นต้น ดังนั้น การจัดให้กิจการต่างๆ มีการดำเนินการเป็นหลักแหล่งตามประเภทของธุรกิจนั้นๆ จึงเป็นสิ่งปกติอยู่แล้วในเชิงธุรกิจ หากภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการเสริมภาคเอกชนโดยมีการกำหนดและบังคับใช้ผังเมืองไทยในระดับประเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงและสมควรดำเนินการอย่างยิ่ง

มีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ 5 ประการที่สนันสนุนการบังคับใช้ ?ผังเมืองไทย?

ประการที่หนึ่ง การบังคับใช้ผังเมืองไทยทำให้การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะมีการใช้ที่ดินตามศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเป็นพื้นที่ต้นน้ำก็ต้องอนุรักษ์ไว้ให้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำโดยไม่ปล่อยให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมต่ำกว่า   พื้นที่ๆ มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางเรือก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าส่งออกของไทย ส่วนที่ลุ่มหรือพื้นที่รับน้ำก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อตักตวงประโยชน์ด้านการชลประทาน ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และถูกน้ำท่วมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เต็มตามศักยภาพจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานไทยไปในตัว

ประการที่สอง เมื่อกิจกรรมต่างๆ ถูกจัดให้อยู่อย่างเป็นที่เป็นทางก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบสาธารณูปโภค เช่น หากพื้นที่เกษตรกรรมอยู่อย่างกระจัดกระจายรัฐก็ต้องเสียงบประมาณสูงขึ้นในการลงทุนในระบบชลประทานในหลายๆพื้นที่ แต่ถ้ากิจกรรมการเกษตรอยู่ร่วมกันก็จะใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานร่วมกันได้ เช่นเดียวกันกับพื้นที่ๆ อยู่อาศัยของประชาชน หากมีการจัดให้ชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็จะทำให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนก็ดีหรือระบบป้องกันน้ำท่วมก็ดีเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณของรัฐลดภาระหนี้ของประเทศ และลดภาระภาษีของประชาชนด้วย

ประการที่สาม การมีผังเมืองไทยเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องกับประชาชน ทำให้ประชาชน นักลงทุน ทั้งชาวไทยและนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถวางแผนธุรกิจล่วงหน้าด้วยความมั่นใจ ปัจจุบันคนที่ซื้อบ้านเพราะวางแผนจะใช้ชีวิตในพื้นที่ๆ สภาพอากาศดีและสงบเงียบกลับฝันสลาย เมื่อมีโรงงานหรือสนามบินนานาชาติมาตั้งอยู่ข้างบ้าน ดังนั้นการขาดการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินแก่ประชาชนก็นำมาสู่ปัญหาเช่นกัน ดังตัวอย่าง ความขัดแย้งระหว่างเจ้าของบ้านกับสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น การบังคับใช้ผังเมืองยังจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนเพราะจะทำให้นักธุรกิจทราบว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะไม่ถูกแปรสภาพเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมในที่สุดอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  การบังคับใช้ผังเมืองจึงเป็นการสร้างความเป็นธรรมและสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการ และจะส่งผลทางอ้อมให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ประการที่สี่ เมื่อมีการประกาศอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ใดจะเป็นเขตเศรษฐกิจและพื้นที่ใดจะเป็นพื้นที่รับน้ำ จะนำไปสู่การพัฒนากลไกในการสร้างความเป็นธรรมในสังคมระหว่างผู้ที่อาศัยในพื้นที่รับน้ำกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ปลอดน้ำ รัฐบาลสามารถพัฒนาระบบการคลังสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมโดยการเก็บภาษีที่ดินเพิ่มเติมจาก เขตเศรษฐกิจที่ปลอดน้ำท่วมและนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ประชาชนที่อาศัยในเขตรับน้ำ สิ่งต่างๆเหล่านี้สามารถดำเนินการได้หากมีการบังคับใช้ผังเมืองและประกาศชัดเจนว่าพื้นที่ใดทำบทบาทอะไรซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบัน

ประการที่ห้า ผังเมืองไทยเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศไทยให้มีความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติได้ดีขึ้น การที่ประเทศไทยมีการรักษาระบบนิเวศต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นอ่างน้ำธรรมชาติ มีการสร้างทางไหลของน้ำให้เพียงพอ มีการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือเขตนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในพื้นที่สูงหรือ มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำฝนเมื่อยามจำเป็นบ้าง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ลดความเปราะบางของระบบนิเวศและสร้างความสามารถในการรองรับกับภัยธรรมชาติด้วย ในที่สุดสังคมที่ประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติจะไม่ต้องเผชิญกับความขัดแย้ง และความสูญเสีย ทั้งในรูปของชีวิต ทรัพย์สินรวมไปถึงงบประมาณของรัฐ

แน่นอนว่า การที่ประเทศไทยจะมีการจัด ที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดของกฎระเบียบที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไทย การบริหารน้ำแบบแยกส่วนที่ให้ความสำคัญกับความเป็น ?กรม? หรือ ?จังหวัด? มากกว่าการร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การป้องกันน้ำท่วมที่มีการเมืองและผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องโดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของคนส่วนใหญ่ และที่สำคัญคือ ระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้ไม่มีใครกล้าพูดความจริง และไม่กล้าพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง

ท้ายสุดผู้เขียนอยากบอกว่า น้ำฝนเป็นสิ่งที่ฟ้าประทานมาให้ น้ำให้กำเนิดชีวิตไม่ว่าจะเป็นคน พืช หรือสัตว์ น้ำเป็นสิ่งที่หล่อเลี้ยงคนไทยมาเป็นเวลาช้านานจนประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น ?อู่ข้าว อู่น้ำ? ตั้งแต่อดีตกาลมา วิถีชีวิตคนไทยอยู่คู่กับน้ำมาโดยตลอดจนเกิดคำพังเพยมากมายที่คนเฒ่าคนแก่ใช้สอนลูกสอนหลาน ไม่ว่าจะเป็น ?น้ำมาปลากิดมด น้ำลดมดกินปลา? หรือ ?น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง? แต่ทุกวันนี้การพัฒนาประเทศแบบผิดๆ ได้ทำให้ ?น้ำ? กลายเป็นอุปสรรต่อการดำเนินชีวิตและนำความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศไทย

?ผังเมืองไทย?
เป็นการทำให้เรามาจัดระเบียบบ้านเมืองกันใหม่เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความสอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาดดังเช่นเคยเป็นมาแต่ในอดีต.
หมายเหตุ - เป็นแผนบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2555-2558 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

รัฐบาล จะมุ่งมั่นการพัฒนาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ทุกคน โดยยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่นที่คำนึงถึงพลวัต การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าว ภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 3 ประการ คือ

1.เพื่อ นำประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย

2.เพื่อ นำประเทศสู่สังคมที่มีความปรองดอง สมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมี หลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน

3.เพื่อนำประเทศ ไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง


@ กรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

เพื่อ ให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถบรรลุถึงภารกิจตามนโยบายรัฐบาล จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มในปีแรก

ดำเนิน นโยบายในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการจากภาวะเงินเฟ้อและ ราคาน้ำมัน รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะการให้สินเชื่อเพื่อประกอบ อาชีพ ให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการยกระดับราคาสินค้าเกษตร การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การให้เบี้ยยังชีพรายเดินแบบขั้นบันได แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนั้น จะดำเนินการเร่งการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินงานระยะเร่งด่วน ในปีแรก จะครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศไทย และคนไทยเผชิญอยู่ใน 3 เรื่องสำคัญได้แก่

1.การ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคม และการพัฒนาการเมืองของประเทศ เพื่อให้คนไทยหันกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง มีความสามัคคี สังคมไทยมีความสงบสุข และปลอดจากปัญหายาเสพติด ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง โดยเร่งดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นในภาครัฐ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง

2.การ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชน และการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชนและประชาชน โดยเพิ่มรายได้ให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ควบคู่ไปกับการลดรายจ่ายของประชาชน ทั้งในด้านราคาสินค้าและราคาพลังงาน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการสร้างอาชีพ รวมทั้งการสร้างหลักประกันในด้านสุขภาพ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาเยาวชนไทย

3.การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร เพื่อการเกษตร และการสร้างรายได้ของประเทศ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยสร้างความมั่นคงของภาคการผลิตทางการเกษตร ด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและการขยายเขตพื้นที่ชลประทาน การสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการท่องเที่ยว และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการฟื้นฟูสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ รวมทั้งลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขยายฐานภาษีเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แข่งขัน และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
@ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ

มี การกำหนดเป้าประสงค์เชิงนโยบายไว้ 5 เรื่อง คือ เรื่องที่หนึ่ง สังคมไทยมีความสมานฉันท์ประชาชนในชาติ มีความรักสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรื่องที่สอง ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข เรื่องที่สาม สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการเมือง เรื่องที่สี่ บุคคลทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย 2540 ได้รับการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เรื่องที่ห้า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่
นโยบายที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปี

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพื้นที่ที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปีของรัฐบาล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังนี้

1. ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน

2. ด้านสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง และยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายช่องการตลาด รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการที่มีเทคโนโลยี สูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ มีการจ้างงานที่เต็มที่ รวมทั้งมีความระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ระหว่างประเทศ และมีการส่งเสริมการสร้างรายได้ภายในประเทศ โดยการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพแวดล้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการตลาด ภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรี

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการขนส่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสในกระจายรายได้ และการกระจายการลงทุนไปสู่ชนบท เป็นต้น

4. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งปฏิรูประบบการ ผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพ เร่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การกระจายครูเพื่อขจัดปัญหาการขาดแคลนครูใน สาขาวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา ด้านการคุ้มครองแรงงานรัฐบาล ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน และหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน

รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิ ประโยชน์ในการประกันสังคมให้มากขึ้น และขยายความคุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ ที่รัฐจะต้องดูแลภายใต้ระบบคุ้มครองแรงงาน การจัดสวัสดิการ และบริการทางสังคม แก่ผู้ด้อยโอกาส และคนยากจนให้ทั่วถึง รวมทั้งยังเร่งยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ทั้งระบบและเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี 2558

นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพให้บริการสุขภาพทั้งระบบโดยการเร่ง ผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ การจัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการป่วยตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านผลิตภัณฑ์และการบริการด้าน สุขภาพและการรักษาพยาบาล ในภูมิภาคเอเชีย

5. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากร การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ และการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับต่อผล กระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ

6. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมบนฐานความรู้ โดยการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ร่วมทั้งเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

7. ด้านต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558

8. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการเน้นการบริหารงานเชิงกลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบ บริหารงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาสรวมทั้งส่ง เสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม

-------------------------------------------------------
วงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เบื้องต้น 15.178 ล้านล้านบาท
 
ทั้งนี้ ประมาณการการลงทุน วงเงินงบประมาณสนับสนุนตามนโยบาย เป็นการประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้น  ซึ่งเป็นข้อเสนอตามความต้องการของส่วนราชการเพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล 4 ปี เท่ากับ 11.299 ล้านล้านบาท และค่าใช้จ่ายดำเนินการภาครัฐ 4 ปี รวม 3.878 ล้านล้านบาท รวมเป็นประมาณการความต้องการใช้เงินเบื้องต้นทั้งสิ้น 15.178 ล้านล้านบาท  และประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 8.901 ล้านล้านบาท  โดยมีแหล่งเงินในการดำเนินโครงการตามนโยบาย ประกอบด้วย เงินในงบประมาณ 10.440 ล้านล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ 0.859 ล้านล้านบาท  ทั้งนี้ประมาณการความความต้องการใช้เงินที่ปรากฏในแผนการบริหารราชการแผ่น ดิน ดังกล่าว จะใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการสี่ปีและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของส่วนราชการ  เพื่อประกอบการจัดทำคำของบประมาณประจำปีต่อไป  โดยแผนงาน/โครงการที่ระบุไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558 ส่วนราชการเจ้าของแผนงาน/โครงการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
   
อย่างไรก็ตาม ประมาณการความต้องการใช้เงินในช่วงปี 2555-2558 ดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและขีดความสามารถในการก่อนหนี้ของภาครัฐ ภายใต้กรอบการรักษาวินัยการคลัง  จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณารายละเอียดความเหมาะสมทางเศรษฐกิจของโครงการลงทุน ต่าง ๆ รวมทั้ง พิจารณาทางเลือกของแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม  เพื่อลดภาระงบประมาณและรักษาวินัยการคลัง

 
 
 
 
 




การจากไปของสืบ นาคะเสถียร ได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบ มิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นบุคคลสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทยเป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกป้อง รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้หรือสัตว์ป่า โดยไม่คำนึงถึงภัยอันตรายใด ๆ

การจากไปของเขา นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติ ทุกคนไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไปได้ โดยปราศจากความทรงจำ

สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2492 ที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ในวัยเด็กสืบมีบุคลิกภาพคือเมื่อสนใจหรือตั้งใจจะทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำจริงจัง จนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้มี ผลการเรียนดีมาโดยตลอด จบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้ เมื่อปี พ.ศ.2518 สังกัดกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเท่านั้น

เขาตัดสินใจเลือกหน่วยงานนี้ เพราะต้องการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบเริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี จุดเริ่มต้นนี้นี่เอง ที่ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมายอย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นี่เขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพล ใด ๆ และเริ่มเรียนรู้ว่าการเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตว์นั้น เจ็บปวดเพียงไหน สืบทำงานอยู่ 3-4 ปี ก็ได้รับทุนไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยา ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนจากนั้นกลับมารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จนกระทั่งขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว



?ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคนเพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลยอึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่า เราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน?

ในระยะนี้ สืบได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมายตั้งแต่การสำรวจติดตามชนิด และพฤติกรรมการทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผาค้นหาและศึกษาพฤติกรรมของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและป่าทุ่งใหญ่นเรศวร งานวิจัยเหล่านี้ ทำให้เขาเริ่มผูกพันกับสัตว์ป่าที่ ตกค้างในอ่างเก็บน้ำซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี สืบได้ทุ่มเททุกเวลานาที ให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วมโดย ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองเลย

จากการทำงานชิ้นดังกล่าว สืบ นาคะเสถียร เริ่มเข้าใจปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงานวิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแสการทำลายป่าและสัตว์ป่า อันเป็นปัญหาระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณีรัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจนในบริเวณทุ่งใหญ่นเรศวร

สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่เขารีบเร่งทำรายงานผลการอพยพสัตว์ป่าจากเขื่อนเชี่ยวหลาน เพื่อบอกทุกคนให้รู้ว่าการช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ถูกทำลายถิ่นที่อยู่นั้น เป็นเรื่องที่เกือบจะไร้ผลโดยสิ้นเชิง

สืบยืนยันว่าการสร้างเขื่อนได้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ แหล่งอาหาร ตลอดจนที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างรุนแรง และกว้างขวางเกินไป กระทั่งความช่วยเหลือจากมนุษย์ไม่สามารถชดเชยได้ โดยการรวมพลังของกลุ่มนักอนุรักษ์ต่าง ๆ ในที่สุดโครงการสร้างเขื่อนน้ำโจนก็ได้ถูกระงับไป

ทว่าสืบ นาคะเสถียร ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น กรณีน้ำโจนได้กลายเป็นบทเริ่มต้น ความพยายามของเขาในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและป่าห้วยขาแข้ง มีฐานะเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกโดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการจาก องค์การสหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกันสำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้อย่างถาวร

ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุนไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมาก ไม่แพ้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และในที่สุดสืบก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่งหัวหน้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้า เต็มไปด้วยความยากลำบากนานัปการ

ป่าห้วยขาแข้งเป็นผืนป่าที่อุดมไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่าอันล้ำค่าทำให้หลายฝ่ายต่างก็จ้องบุกรุกทำลาย เพื่อหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง

ตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปรับงานเป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบได้แสดงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ ที่จะรักษาป่าผืนนี้ไว้ให้ได้อย่างชัดแจ้ง เขาได้ประชุมเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าห้วยขาแข้งทั้งหมด และได้ประกาศให้รู้ทั่วกันว่า

?ผมมารับงานที่นี่ โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน?



สืบ นาคะเสถียร พยายามปกป้องป่าห้วยขาแข้งอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการบุกรุกของกลุ่มที่ แสวงหาผลประโยชน์ได้ การดูแลผืนป่าขนาดหนึ่งล้านไร่ด้วยงบประมาณและกำลังคนที่จำกัด กลายเป็นภาระหนักอึ้งที่ตกอยู่บนบ่าของเขา มันทั้งกัดกร่อน บั่นทอนและสร้างความตึงเครียดให้กับสืบอยู่ตลอดเวลา สืบค้นพบว่า ปัญหาสำคัญของห้วยขาแข้งเกิดจากความยากจน ที่ดำรงอยู่โดยรอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ทำให้กลุ่มผลประโยชน์และผู้มีอิทธิพลสามารถยืมมือชาวบ้านในเขตป่าสงวน เข้ามาตัดไม้และลักลอบล่าสัตว์ ในเขตป่าอนุรักษ์ได้อย่างต่อเนื่อง ในทรรศนะของเขา หนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการ สร้างแนวป่ากันชนขึ้นมา จากนั้นก็อพยพราษฎรออกนอกแนวกันชนและพัฒนาแนวกันชน ให้เป็นชุมชนที่ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาประโยชน์ได้

อย่างไรก็ตาม สืบไม่มีอำนาจเพียงพอที่จะเข้าไปจัดการเรื่องนี้ให้ปรากฎเป็นจริง ดังนั้นเขาจึงได้ พยายามประสานงานกับผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะไม่มีใครสนใจฟัง ปล่อยให้สืบต้องดูแลป่าห้วยขาแข้งไปตามยถากรรม ด้วยความเหนื่อยล้า ความผิดหวัง และความคับแค้นใจ

สืบ นาคะเสถียรตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสีย ลูกน้องคนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับแล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ ขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติด้วยกาย วาจา และใจ

ต่อหน้าเปลวเพลิงที่พาร่างของสืบไปสู่นิรภพอันถาวรเพื่อนพ้องนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ต่างเห็นความจำเป็น ที่จะต้องรักษาอุดมคติของเขาให้คงอยู่ต่อไป



สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเปิดอนุสรณ์สถาน
ณ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยข้าแข้ง อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งขึ้นสิบวันหลังวันพระราชทานเพลิงศพ คือวันที่ 18 กันยายน 2533 คณะกรรมการ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพ แต่เป็น กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ตรงกับสืบ เมื่อเริ่มก่อตั้ง มูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวนสองล้านสี่แสนสี่หมื่นแปดพันห้าร้อยสี่สิบบาท เป็นกองทุนประเดิมต่อกองทุนของมูลนิธิฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ได้ประทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้อีกหนึ่งแสนบาท พระมหากรุณาธิคุณและพระกรุณาธิคุณนี้ คณะกรรมการมูลนิธิฯ จักน้อมรำลึกไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตลอดไป

นอกจากนั้นแล้ว บรรดาญาติและมิตร รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาและตระหนัก ถึงความจริงใจในการเสียสละของคุณสืบ ได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ในโอกาสที่คณะรัฐบาล โดย ฯพณฯพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นประธานจัดงานรณรงค์หาทุนให้กับมูลนิธิ และเมื่อรวมกับความช่วยเหลือในการระดมทุนทางสื่อมวลชนต่าง ๆ แล้ว ทำให้มูลนิธิฯมีทุนประเดิมเริ่มก่อตั้งประมาณ 16.5 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำเพียงดอกผลมาใช้ดำเนินกิจกรรมเท่านั้น กล่าวได้อย่างภาคภูมิว่า ความคิดในการอนุรักษ์ป่าไม้ และสัตว์ป่านั้นเป็นของประชาชนทุกกลุ่ม คณะกรรมการมูลนิธิ เป็นเพียงคณะบุคคลที่ทำหน้าที่สานต่อเจตนารมณ์ ของทุกท่านให้บรรลุวัตถุประสงค์เท่านั้น



พฤติกรรมทางศีลธรรมของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับทัศนคติหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีภายในใจเท่านั้น แต่ยังถูกกำหนดโดยสิ่งแวดล้อมรวมถึงสถานการณ์และผู้คนรอบตัวด้วย หากมีใครสักคนเป็นลมอยู่บนถนนที่มีคนพลุกพล่าน ถ้าทุกคนพากันเดินผ่านผู้เคราะห์ร้ายโดยไม่หยุดช่วยเหลือเขาเลย คนที่เดินตามมาก็มีแนวโน้มที่จะเดินผ่านเขาไปด้วยเช่นกัน แต่ถ้าบังเอิญมีใครสักคนหยุดเดินแล้วเข้าไปช่วยเขา ก็จะมีใครต่อใครอีกหลายคนเข้าไปทำอย่างเดียวกัน เช่น ซื้อยาดมหรือหาน้ำให้กิน

นักจิตวิทยาคู่หนึ่ง แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคยทำการทดลองด้วยการมอบหมายให้นักศึกษาคนหนึ่งแกล้งทำเป็นโรคลมบ้าหมูอยู่คนเดียวในห้อง โดยมีนักศึกษาอีกคนหนึ่งนั่งอยู่ในห้องติดกัน (แต่ไม่รู้ว่ามีการทดลอง) จากการทดลองทำซ้ำหลายๆ ครั้ง พบว่านักศึกษาข้างห้องเมื่อได้ยินเสียงร้องจะเข้าไปช่วย "ผู้ป่วย" ถึงร้อยละ 85 ของการทดลอง แต่ถ้าหากในห้องข้างๆ นั้นมีคนอยู่ 5 คน ร้อยละ 31 เท่านั้นที่จะมีคนจากห้องนั้นไปช่วย

เขายังได้ทดลองด้วยการสุมควันในห้อง ปรากฏว่าคนที่อยู่นอกห้องหากเห็นควันพวยพุ่งจากใต้ประตูจะรีบวิ่งไปบอกเจ้าหน้าที่ถึงร้อยละ 75 ถ้าเขาอยู่คนเดียว แต่ถ้าอยู่กันเป็นกลุ่ม จะมีการรายงานเจ้าหน้าที่เพียงร้อยละ 38 ของการทดลองเท่านั้น

การทดลองนี้ได้ข้อสรุปว่า ผู้คนมีแนวโน้มที่จะทำตัวพลเมืองดีหากว่าอยู่คนเดียว แต่ถ้าอยู่กันหลายคน ความใส่ใจที่จะเป็นพลเมืองดีก็ลดลง

กล่าวกันว่าคนเรามักจะทำดีต่อหน้าผู้คน ข้อนี้มีความจริงอยู่ แต่ถ้าผู้คนส่วนใหญ่ทำตัวเฉยเมย ดูดายต่อปัญหา ไม่อนาทรต่อผู้เดือดร้อน คนอื่นก็มักจะทำตามด้วย นี้คือเหตุผลว่าเหตุใดผู้หญิงจึงถูกลวนลามในรถเมล์หรือถูกฉุดกระชากลากถูเข้าพงหญ้าโดยไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือเลย ในสถานการณ์เช่นนี้ต่างคนต่างโยนความรับผิดชอบให้คนอื่น ("แกทำสิๆ" หลายคนคงนึกเช่นนี้ในใจ) หาไม่ก็นึกในใจว่า "ถึงฉันไม่ทำ คนอื่นก็ทำ" สุดท้ายก็ไม่มีใครทำอะไรเลยสักคน อันธพาลจึงทำร้ายผู้หญิงได้สมใจและลอยนวลไปได้

นอกจากผู้คนแวดล้อมแล้ว สถานการณ์หรือสถานภาพของแต่ละคนก็มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของเขาด้วย เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้วมีการทดลองที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยทำคุกจำลองขึ้นและมีอาสาสมัครจำนวน 24 คนมารับบทเป็นผู้คุมและนักโทษ อาสาสมัครเหล่านี้ล้วนคัดมาจากผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมาก ผู้ที่รับบทเป็นผู้คุมซึ่งมีอยู่ครึ่งหนึ่งนั้นได้รับเครื่องแบบ ใส่แว่นตาดำและมีอุปกรณ์ทุกอย่างเหมือนจริง รวมทั้งมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้คุมทั่วไป

การทดลองมีกำหนด 14 วัน แต่หลังจากดำเนินไปได้เพียง 6 วันก็ต้องยุติ เพราะนักโทษทนสภาพที่ถูกบีบคั้นในคุกไม่ไหว เนื่องจากผู้คุมใช้อำนาจอย่างเต็มที่ เพียงแค่คืนแรกนักโทษก็ถูกปลุกให้ขึ้นมาวิดพื้นตั้งแต่ตี 2 และทำอะไรต่ออะไรอีกหลายอย่าง วันต่อมาเมื่อนักโทษแสดงอาการต่อต้านขัดขืน ก็ถูกลงโทษหนักขึ้น มีการเปลื้องผ้าและจับขังคุกเดี่ยว หลังจากนั้นนักโทษหลายคนมีอาการหงอย หงอ และซึม ขณะที่ผู้คุมแสดงอาการข่มขู่ก้าวร้าวมากขึ้น ผ่านไปไม่กี่วันนักโทษ 4 คนถูกพาออกจากการทดลองเพราะมีอาการคลุ้มคลั่งและซึมเศร้าอย่างหนัก สถานการณ์เลวร้ายกว่าที่คิด จึงต้องยุติการทดลองก่อนกำหนด 8 วัน

อาสาสมัครที่รับบทผู้คุมบางคนเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า พฤติกรรมที่เขาทำในคุกนั้นตรงข้ามกับที่เขาทำในยามปกติ บางคนยอมรับว่า ไม่คิดมาก่อนว่าตนจะมีพฤติกรรมรุนแรงอย่างนั้นเพราะเชื่อว่าตัวเองเป็นคนรักสันติ ส่วนฟิลิป ซิมบาร์โดซึ่งเป็นผู้ทำการทดลองอันลือชื่อดังกล่าว ยอมรับเช่นกันว่า ไม่คาดคิดว่าพฤติกรรมของผู้คนในคุกจำลองจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและเข้มข้นขนาดนั้น

การทดลองดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสถานการณ์บางอย่างนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนได้ มันสามารถดึงเอาด้านลบหรือความรุนแรงก้าวร้าวในตัวของผู้คนออกมาอย่างคาดไม่ถึง "คนดี"ในยามปกติอาจกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว บ้าอำนาจ หรือนิยมความรุนแรงได้หากมีอำนาจมากมายในมือ

ดังที่คุณหมอประเวศ วะสีได้เปรียบเปรยไว้ ไก่ 2 ตัวเมื่อถูกสุ่มครอบ จากเดิมที่เคยหากินอย่างสงบ ก็จะเริ่มจิกตีกัน คนเมื่อถูกครอบด้วยโครงสร้างที่คับแคบ ก็จะกลายเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน แสดงความรุนแรงต่อกัน สังคมเผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างคอมมิวนิสต์ (โดยเฉพาะรัสเซียสมัยสตาลิน และจีนยุคปฏิวัติวัฒนธรรม) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดึงเอาด้านลบของมนุษย์ออกมาอย่างน่าเกลียด ผู้คนไม่เพียงระแวงต่อกันเท่านั้น แต่ยังพร้อมที่จะปรักปรำใส่ร้ายกัน เพื่อความอยู่รอดของตัว แม้กระทั่งสามีภรรยาก็ไม่ไว้ใจกัน เพราะกลัวว่าต่างฝ่ายจะเป็นสายให้ตำรวจ

ที่มักพูดกันว่า "ถ้าทุกคนเป็นคนดี สังคมก็จะดีด้วย" เป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว คนมิใช่เป็นผู้กำหนดสังคมฝ่ายเดียวเท่านั้น สังคมก็เป็นตัวกำหนดผู้คนด้วย นั่นก็คือ "ถ้าสังคมเลว ทุกคนก็(มีสิทธิ)เป็นคนเลว"

อิทธิพลของสังคมมีผลทางลบต่อจิตใจของผู้คนเพียงใด พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในจักกวัตติสูตร โดยทรงชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเป็นลูกโซ่ กล่าวคือ เมื่อ (ผู้ปกครอง)ไม่จัดสรรปันทรัพย์ให้แก่เหล่าชนผู้ไร้ทรัพย์ ย่อมทำให้ความยากจนระบาดทั่ว จากนั้นก็จะมีการลักขโมยแพร่หลาย มีการใช้อาวุธระบาดทั่ว มีการฆ่าผู้คน โกหก ส่อเสียด ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ จนเกิดมิจฉาทิฐิ ความฝักใฝ่ในอธรรม ความละโมบ และมิจฉาธรรม เป็นต้น

เห็นได้ว่าการปกครองที่ไม่ก่อให้เกิดการแบ่งปันทรัพย์อย่างทั่วถึง สามารถก่อผลกระทบต่อเนื่อง ไม่เพียงทำให้ผู้คนกินอยู่ฝืดเคืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมของประชาชน เริ่มจากการผิดศีลผิดธรรม ตามมาด้วยการกัดกร่อนจิตสำนึกของผู้คน ทำให้กิเลสและความหลงผิดเพิ่มพูนขึ้น

อิทธิพลของสังคมที่มีต่อจิตสำนึกของผู้คน เป็นเรื่องที่ชาวพุทธและคนไทยทั่วไปไม่สู้ตระหนัก หรือยังให้ความสำคัญน้อยมาก ดังจะเห็นได้จากการนิยมเปลี่ยนจิตสำนึกของผู้คนด้วยวิธีการเทศนาสั่งสอน (รวมทั้งพานั่งสมาธิ) ซึ่งแม้จะมีประโยชน์ แต่ก็ยังไม่พอ เพราะได้ผลในระดับบุคคล หรือกับคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่ส่งผลน้อยมากต่อสังคมโดยรวม

การยกระดับจิตสำนึกหรือเสริมสร้างพฤติกรรมทางศีลธรรมของผู้คนนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นในวงกว้างได้เลยตราบใดที่โครงสร้างหรือเงื่อนไขทางสังคมยังอยู่ในสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กับความดี สภาพดังกล่าวได้แก่ ความยากจนที่แพร่ระบาด การมีอบายมุขทั่วบ้านทั่วเมือง สื่อมวลชนที่ถูกครอบงำด้วยบริโภคนิยม การศึกษาที่ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้และใฝ่ธรรม ประเด็นเหล่านี้มีการพูดกันมากแล้ว แต่ที่ยังพูดถึงน้อยก็คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่า นอกจากความยากจนแล้ว ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมส่งเสริมให้เกิดอาชญากรรมและความรุนแรงในสังคมโดยตรง ล่าสุดคืองานวิจัยของริชาร์ด วิลคินสัน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานอย่างแพร่หลายในขณะนี้ เขาได้ชี้ว่าเมื่อเทียบระหว่างประเทศต่อประเทศ รัฐต่อรัฐ เมืองต่อเมือง จะพบว่า สังคมที่มีความแตกต่างทางด้านรายได้สูงมาก (เช่น สหรัฐอเมริกา) มีอาชญากรรมและนักโทษในสัดส่วนที่สูงกว่าสังคมที่มีความแตกต่างทางด้านรายได้น้อยกว่า (เช่น ญี่ปุ่น นอร์เวย์)

ความรุนแรงนั้นเกิดจากคนระดับล่างที่รู้สึกคับแค้น ต่ำต้อย และไม่พอใจคนระดับบนที่ดูถูกตน รวมทั้งเกิดจากความรู้สึกว่าตนถูกเอารัดเอาเปรียบด้วย ขณะที่คนระดับบนนั้นนอกจากมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรมากกว่าแล้ว ยังใช้อภิสิทธิ์ดังกล่าวเบียดบังผลประโยชน์ของผู้ที่อยู่ต่ำกว่า ทำให้ช่องว่างทางเศรษฐกิจถ่างกว้างขึ้น

ความรุนแรงยังเกิดจากช่องว่างทางสถานภาพ ซึ่งก่อให้เกิดความเหินห่างหมางเมินและพัฒนาไปสู่ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้ง่ายมาก งานวิจัยดังกล่าวชี้ว่าในประเทศที่มีความแตกต่างทางรายได้สูงมาก จะมีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจสูงมาก เช่น ในสิงคโปร์ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่บอกว่าผู้คนส่วนใหญ่ไว้ใจได้ ขณะที่ผู้ที่มีความเห็นดังกล่าวมีมากถึงร้อยละ 65 ในสวีเดน เดนมาร์ค ซึ่งเป็นประเทศที่มีแตกต่างทางรายได้น้อยมาก

ดังที่การทดลองของซิมบาร์โดได้ชี้ชัด สถานภาพที่ต่างกันสามารถดึงเอาด้านลบหรือส่วนที่เลวร้ายในใจมนุษย์ออกมา เพราะต่างฝ่ายต่างมองซึ่งกันและกันเป็นคนละพวกคนละฝ่าย แม้สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมากจะแตกต่างจากสภาพในคุก แต่การที่ผู้คนแบ่งกันตามสถานภาพที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน (เช่น รายได้ซึ่งเชื่อมโยงกับการศึกษาและรสนิยมการบริโภค รวมทั้งอิทธิพลทางการเมือง และ "เส้นสาย") ก็ย่อมทำให้แต่ละฝ่ายมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมทางลบต่อกันและกัน ตรงกันข้ามกับมิตรภาพ ที่มักจะดึงด้านบวกหรือคุณธรรมออกมา (เช่น แย่งกันออกเงินค่าอาหาร)

แม้ว่าการวิจัยของวิลคินสันเน้นเฉพาะประเทศที่ร่ำรวย 20 ประเทศ ไม่รวมประเทศระดับกลางหรือยากจน แต่ก็บอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับประเทศไทยซึ่งมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่าประเทศเหล่านั้นมาก (เมื่อปี 2549 กลุ่มคนที่รวยสุดมีทรัพย์สินสูงเป็น 69 เท่าของกลุ่มที่จนสุด) อย่างน้อยการศึกษาเปรียบเทียบดังกล่าวบอกเป็นนัยว่า อาชญากรรม ความรุนแรง ตลอดจนความร้าวฉานของคนไทยทั้งประเทศเวลานี้ เป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมไม่น้อยเลย ปฏิเสธไม่ได้ว่าความแตกต่างทางด้านสถานภาพทำให้คนไทยเกิดความไม่ไว้วางใจต่อกันมากขึ้น โดยเฉพาะชนชั้นกลางมีแนวโน้มดูแคลนคนระดับล่างที่มีฐานะและการศึกษาต่ำกว่าตนอย่างเห็นได้ชัด

เมื่อเร็วๆ นี้มีการเปิดเผยผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนในเอเชีย พบว่าคนไทยเพียงร้อยละ 18 เท่านั้นที่เห็นว่า คนที่มีการศึกษาน้อยหรือไร้การศึกษาควรมีสิทธิทางการเมืองเท่ากับคนที่มีการศึกษาสูง ตัวเลขดังกล่าวนับว่าต่ำที่สุดในเอเชีย นั่นหมายความว่าร้อยละ 88 เห็นว่าคนที่มีการศึกษาน้อย (หรือคนจน) ควรมีสิทธิทางการเมืองน้อยกว่าคนที่มีการศึกษาสูง (หรือคนมีเงิน) ทัศนคติดังกล่าวเป็นทั้งผลพวงและสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศไทยในเวลานี้

การเรียกหาความสามัคคีหรือสมานฉันท์ของคนในชาติ จะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากบ้านเมืองมีความเหลื่อมล้ำกันมากมายขนาดนี้ ในทำนองเดียวกันการหวังให้คนมีความเมตตากรุณาหรือมีศีลธรรมต่อกันจะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากสภาพสังคมที่เป็นอยู่มีแนวโน้มที่จะดึงเอาด้านลบของผู้คนออกมา สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมากไม่เพียงบั่นทอนสายสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมเท่านั้น หากยังกัดกร่อนจิตวิญญาณของผู้คนด้วย มิพักต้องเอ่ยถึงการบั่นทอนสุขภาพ (การวิจัยของวิลคินสันชี้ว่าในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง มีอัตราการตายของทารก โรคอ้วน การใช้ยาเสพติด และมีความเครียดสูงตามไปด้วย)

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เกิดความสามัคคีหรือสาราณียธรรมได้แก่ สาธารณโภคี หรือการแบ่งปันกัน ในสังคมระดับประเทศ การแบ่งปันไม่อาจทำด้วยการแจกเงินแบบประชานิยม ซึ่งให้ผลชั่วคราว และมิใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด แต่จะต้องทำให้เกิดกลไกการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ทั้งโดยอาศัยกลไกตลาด กลไกรัฐ และกลไกภาษี รวมทั้งกระจายอำนาจทางการเมืองเพื่อให้เกิดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรม

ชาวพุทธพึงระลึกว่าธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจบุคคลและประสานให้ผู้คนเกิดความสามัคคี หรือสังคหวัตถุ 4 นั้น ข้อสุดท้ายได้แก่ สมานัตตตา คือความมีตนเสมอ หรือปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน สิ่งที่ต้องตั้งคำถามก็คือสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมากอย่างสังคมไทยจะส่งเสริมให้เกิดธรรมข้อนี้ได้อย่างไร ถ้าไม่ส่งเสริม เราจะหวังให้คนไทยมีความรักและสามัคคีกันได้อย่างไร



             ในยุคครอบครัวเน็ตเวิร์กการพบปะพูดคุยและการสื่อสารทางกายภาพที่บ่งบอกและรับรู้ได้ถึงความรักความห่วงใยของ "พ่อ แม่ ลูก" ถูกแทนที่ด้วยความสะดวกรวดเร็ว ผ่านการใช้โทรศัพท์ อีเมล์ หรือการแช็ต ครอบครัวจึงพูดกันน้อยลง เด็กๆ เริ่มหันไปเชื่อฟังคนอื่นมากกว่าผู้ปกครอง วิถีชีวิตไปจนถึงเทรนด์แฟชั่น เกิดการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส

             ดร.แคทเธอลีน เบอร์นาร์ต ประธานสถาบันวิจัยและบริการด้านครอบครัวและเด็ก (เอสอี อาร์เอฟเอซี) กล่าวในงานแถลงข่าวการประชุมเรื่อง "การปกป้องสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะเรื่องความผูกผันในครอบครัว เด็ก และการรักษาวัฒนธรรม" ที่ประเทศไทย เมื่อไม่นานนี้ว่า ตั้งแต่ปี 2503 ครอบครัวแบบเกษตรกรรม เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โลกไซเบอร์เข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนครอบครัวแบบเราๆ ให้กลายเป็นครอบครัวเน็ตเวิร์ก ที่ไม่เพียงแต่เพิ่มช่องว่างระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้ห่างจากกันมากขึ้น แต่ยังเป็นช่องทางอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ เช่น การปลอมแปลงเอกสาร การซื้อยาเสพติดผ่านระบบออนไลน์ การค้าอาวุธสงคราม รวมทั้งการค้ามนุษย์และเด็ก

             "ในมิติของครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมนั้น โลกไซเบอร์ทำให้เด็กมีความต้องการ อยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น เมื่อเขาเห็นโฆษณาทางทีวีและบนอินเตอร์เน็ต เด็กจะหาทางเพื่อให้ได้ครอบครองสิ่งต่างๆ เหล่านั้น จึงเป็นที่มาของปัญหา ทั้งโสเภณีเด็ก โรคเอดส์ การไม่เชื่อฟังพ่อแม่ผู้ปกครอง และความรุนแรงอื่นๆ ที่เป็นผลต่อเนื่องในภายหลัง"

             ดร.เบอร์นาร์ต กล่าวต่อว่าในด้านวัฒนธรรมนั้น ปัจจุบันเราเกือบจะมีวัฒนธรรมหนึ่งเดียวทั่วโลก ที่ครอบครัวแบบเน็ตเวิร์กได้ทำลายสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวเอเชีย เช่น การเคารพผู้ใหญ่ วัฒนธรรมการกินอยู่ ประเพณี และการให้คุณค่าเรื่องศาสนา ก็กำลังถูกลบเลือนหายไป แต่เรากลับไปส่งเสริมไลฟ์สไตล์อย่างชาติตะวันตก โดยไม่มีการควบคุมว่าควรจะรับมามากน้อยแค่ไหน

             บางอย่างก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด ทั้งการเล่นเกมออนไลน์ หรือการแต่งกายตามแฟชั่นของฝรั่ง สิ่งเหล่านี้ได้ถอนรากถอนโคน วัฒนธรรมที่งดงามของชาวเอเชียออกไป

             หลายประเทศเรียกสิ่งนี้ว่าเสรีนิยม หรือความทันสมัย บางประเทศก็นำไปต่อยอด เกิดเป็นสิ่งใหม่ในด้านความคิด แนวทางอุดมการณ์ จนถึงขั้นทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัยหรือไม่ก็โบราณไร้คุณค่า

             "ดิฉันเป็นชาวอินเดีย เราภูมิใจในวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน แต่ปัจจุบันประเทศของเรากำลังถูกโลกไซเบอร์โจมตีอย่างหนัก แม้โลกภายนอกจะมองว่าเรายังคงความเป็นอินเดีย เราใส่ส่าหรี เรากินอาหารแบบดั้งเดิม เรายังนับถือศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ขณะที่ความเป็นจริงแล้ว อินเดียรับเอาวัฒนธรรมที่ไม่ใช่แค่จากชาติตะวันตก แต่เป็นจากทุกที่บนโลก

             เราพบเจอเด็กสาวแต่งกายด้วยส่าหรีประยุกต์ โชว์เนื้อหนังมังสาเดินไปมาอยู่ในชุมชนอย่างไม่รู้สึกว่านั่นคือการทำลาย ประเพณีของบรรพบุรุษ การหันไปนิยมอาหารแบบฝรั่งยิ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก เราก็ยิ่งขาดดุลทางการค้าและประเพณี หรือการเล่นเกมออนไลน์ในกลุ่มเด็กที่อินเดียนี่คือปัญหาที่ยังไม่มีทางออก และดูเหมือนว่าจะยังระบาดต่อไปอนาคตอีกด้วย"


             ด้าน ดร.แคโรไลน์ เดอ ลีออน คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ประธานแผนกการให้คำแนะนำและปรึกษา จากมาเรียมคอลเลจ ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวเสริมขึ้นว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ของพ่อแม่ยุคใหม่ในโลกตะวันตกที่เมื่อหนุ่มสาว อายุได้ 18 ปีแล้ว ต้องออกไปเผชิญโลกด้วยตัวเอง ส่งผลให้เกิดปัญหาการไม่เคารพผู้ใหญ่ การยึดตัวเองเป็นหลักมากกว่ารับฟังความเห็นของผู้อื่น จุดนี้กำลังคืบคลานเข้ามาในสังคมเอเชียที่เคยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แต่เพื่อความอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันเราจึงคล้อยตามวิถีชีวิตของพวกฝรั่ง

             "เช่นเดียวกับการส่งต่อพฤติกรรมที่ขัดต่อวัฒนธรรมไป ยังลูกหลาน ปัญหาที่ดูเหมือนจะแก้ไขได้ง่ายจึงกลายเป็นปมใหญ่ทางสังคม หากสภาพบ้านเมืองบังคับให้เราต้องเดินตามอย่างคนอื่น เราก็ควรหาวิธีผสมผสานรับเอาสิ่งดีมาปรับใช้ มากกว่าจะถูกกลืนหายไปโดยไม่เหลือแม้กระทั่งจิตวิญญาณของเรา"

             ดร.แคทเธอลีน เบอร์นาร์ต กล่าวสรุปว่า "ดิฉันคิดว่า ภาครัฐของทุกประเทศในเอเชีย ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และการเป็นหนึ่งในด้านเศรษฐกิจ มากกว่าความเป็นอยู่ของคนในสังคม พวกเขานึกถึงแต่ตัวเลขจีดีพี ผลกำไร การครอบครองตลาด ปลูกฝังและผลักให้เรายึดหลักวัตถุนิยมมากกว่าความสุขในการใช้ชีวิต เพราะผู้ที่ได้รับประโยชน์มีเพียงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ แต่ก็นำมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินงานว่าทำเพื่อส่วนรวม"

             "เราต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้ นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะให้ความสำคัญกับครอบครัวแล้ว การสร้างบรรยากาศภายในบ้านของเราเอง ให้สัมผัสได้ถึงความรัก ความอบอุ่น ความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งการเลี้ยงดูด้วยหลักศีลธรรม เพื่อให้เด็กๆ มีแรงต้านต่อสิ่งที่ถาโถมเข้ามากับโลกยุคใหม่ได้

             ขณะที่ภาครัฐควรเป็นสื่อกลางช่วยชี้แจงและถ่ายทอดปัญหาให้สังคมรับรู้ไป พร้อมกับการหาหนทางเพื่อแก้ไข และควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในการดูแลขอบเขตของเทคโนโลยี และอารยธรรมตะวันตก เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประเพณี และวัฒนธรรมดั้งเดิม อะไรที่พอจะช่วยได้ เราควรร่วมมือกัน เพราะทุกวันนี้ ความทันสมัยบีบบังคับให้เราเป็นเหมือนชาวต่างด้าวในบ้านเกิดเมืองนอนของเราเองเสียแล้ว"
ดร.เบอร์นาร์ต กล่าวทิ้งท้าย
พัฒนาการทางการเมืองอินโดนีเซียกับความเข้มแข็งในปัจจุบัน

วัชรีวรรณ สมัยสงค์
สาขาภูมิภาคศึกษา สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์
ปฎิบัติงานสหกิจศึกษา สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียด นับได้ว่าเป็นสภาวะขาลงทางการเมืองของไทย หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศที่ถูกสังคมโลกเคยมองว่าเป็นประเทศที่ล้าหลังและยากที่การเมืองภายในประเทศจะมีความเข้มแข็งอย่างประเทศอินโดนีเซีย

หากย้อนกลับไปดูเมื่อ 10 ปีก่อนของการเมืองประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงปลายยุคระเบียบใหม่  (Orde Baru) โดยการนำของนายพลซูฮาร์โต ( พ.ศ. 2510-2541 ) จะเห็นได้ว่าลักษณะของสังคมอินโดนีเซียในช่วงสมัยนั้นจะเต็มไปด้วยปัญหาและความขัดแย้ง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ เพราะอำนาจส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มเดียว หากผู้ใดออกมาแสดงความคิดที่มีความขัดแย้งกับรัฐผู้นั้นก็จะมีความผิด แต่เมื่อเวลาผ่านไปอำนาจของรัฐที่มีอยู่ก็สู้อำนาจและแรงการต่อสู้ของประชาชนไม่ไหว กรณีเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติ (พฤษภาคม 1998 ) อำนาจเหล่านี้ก็เลยต้องถึงจุดจบในที่สุดเป็นการล่มสลายลงของการปกครองที่เรียกว่ายุคระเบียบใหม่ (Orde Baru)และเป็นการหมดอำนาจลงของซูฮาร์โตที่มีมาทั้งหมด 32 ปี

หลังลงจากอำนาจของซูฮาร์โต คนที่เข้ามารับอำนาจแทนคือ นายยูซุฟ ฮาบิบี (พ.ศ. 2541-2542 ) ถือได้ว่าเป็นเหมือนผู้สืบทอดอำนาจของซูฮาร์โต ฮาบิบีดำรงตำแหน่งนั้นก็ได้ประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น ประชาชนการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้ และสิ่งสำคัญคือฮาบิบีเองไม่มีฐานทางการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือพรรคโกลคาร์ (GOLKAR) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ทำให้ดูเหมือนว่าสถานะของฮาบิบีในตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ในสภาพไม่มีความมั่นคงมากนัก จนกระทั่งเขาต้องลงจากตำแหน่ง

แต่สิ่งหนึ่งที่นานาชาติให้การยอมรับและชื่นชมในตัวฮาบิบีเกี่ยวกับการจัดการกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออก โดยให้เสรีภาพกับชาวติมอร์ตะวันออกว่าจะเป็นเอกราชหรือเลือกที่จะอยู่กับอินโดนีเซียต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดชาวติมอร์ตะวันออกก็ต้องการเป็นอิสระ ฮาบิบีจึงให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออก ( 20 พ.ค. 2545 )

หลังจากนั้นอับดูร์ราห์มาน วาฮิด  (พ.ศ.2542-2544) ก็ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดี แม้ว่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพลซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย แต่เหตุผลที่ทำให้วาฮิด ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเป็นผลมาจากการรวมคะแนนการเลือกตั้งของเขาเข้ากับพรรคการเมืองอื่นทำให้คะแนนที่ออกมามีมากกว่าพรรคของนางเมกาวาตี จนทำให้เขาได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียในที่สุด

ในช่วงที่วาฮิดบริหารประเทศ วาฮิดได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและกลุ่มการเมืองแนวศาสนาว่ามีความเป็นประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ วาฮิดจะให้ความเท่าเทียมกันของศาสนาทุกศาสนา ไม่ได้ให้อภิสิทธิ์กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ถึงแม้ว่าคนในสังคมอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลามก็ตาม แต่ก็มีปัญหาความขัดแย้งกับกองทัพ เนื่องจากต้องการลดจำนวนผู้แทนในสภาที่มาจากโควตากองทัพ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกองทัพให้มีส่วนร่วมกับการเมืองน้อยลงตามแนวทางปฏิรูปการเมือง จึงทำให้ในช่วงหลังกองทัพหันไปให้การสนับสนุนรองประธานาธิบดีเมกาวาตีแทน เนื่องจากมีการดำเนินการโดยสภาที่ปรึกษาประชาชนเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่ง ในเรื่องทุจริตยักยอกเงินที่พัวพันกับคนใกล้ชิดของเขาและเรื่องส่วนตัวอันอื้อฉาว จึงทำให้เขาถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในที่สุด

คนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่วาฮิดหลังจากถูกถอดถอนออกจาตำแหน่งคือ นางเมกาวาตรี ( พ.ศ. 2544-2547) ในช่วงที่นางเมกาวาตรีดำรงตำแหน่งก็ได้เกิดเหตุการณ์และปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว หลังยุคฟอกสบู่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัญหาคอรัปชั่น ส่วนปัญหาใหญ่คือปัญหาการก่อการร้ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐอเมริกาและการลอบวางระเบิดในบาหลีทีทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามก่อการร้ายอย่างเข้มงวด

หลังจากหมดวาระสมัยของนางเมกาวาตี อินโดนีเซียก็เข้าถึงยุคสมัยของการเลือกตั้งอีกครั้ง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในสังคมอินโดนีเซีย เพราะพรรคการเมืองต่างๆ ต่างส่งผู้สมัครเข้าลงการแข่งขันเลือกตั้งอย่างเข้มข้น แต่พรรคที่ถูกรับเลือกให้บริหารประเทศได้แก่พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียของพลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (พ.ศ.2547-ปัจจุบัน) นับเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจาก ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเข้ามาดำรงตำแหน่งของบัมบังครั้งนี้เป็นที่คาดหวังของประชาชนเป็นอย่างมากในการบริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ

ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่งของบัมบังนั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากประชนมากนัก แต่ด้วยความอดทนและเข้มแข็งของรัฐบาลก็สามารถบริหารประเทศได้ดีขึ้นเป็นลำดับ และสามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น การเจรจาสันติภาพกับอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆ จนสามารถยุติความรุนแรงได้ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้มีความเข้มแข็งเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนในปัจจุบัน ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2552) ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียนั้นเป็นประเทศที่ค่อยๆ สร้างเสถียรภาพให้กับตัวเองทีละก้าว ซึ่งมาจากทำงานของรัฐบาลแต่ละสมัยที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ที่มีความโดดเด่นต่างๆ กัน ในช่วงแรกของยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีความเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก แต่ในทางตรงข้ามประชาชนก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการกระทำการสิ่งใดที่นอกเหนือจากคำสั่งรัฐ หลังจากที่ประชาชนต้องตกอยู่สภาวะที่ไร้ซึ่งสิทธิมาเป็นเวลานาน สิทธิและเสรีภาพครั้งใหม่ก็เริ่มเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยการปลดปล่อยของนายฮาบิบี ซึ่งเป็นช่วงที่สื่อมีเสรี ให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออกที่นายฮาบิบียอมปล่อยให้เป็นเอกราช เพราะนายฮาบิบีเชื่อและเคารพในการตัดใจของผู้อื่น จนทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในติมอร์ตะวันออกยุติลง

ในขณะที่ยุคของวาฮิดได้ออกกฏหมายให้ศาสนาแต่ละศาสนามีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าวาฮิดจะบริหารประเทศได้ไม่นานแต่เขาก็เป็นยอมรับของนานาชาติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สำหรับรัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะเน้นเกี่ยวกับการปราบปรามการก่อการร้ายทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและนอกประเทศเอง ถึงแม้ว่ารัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะปราบปรามเรื่องนี้ได้ไม่มากนัก แต่ถือได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ก็ได้ช่วยลดความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง กระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลของพลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเฉพาะในการบริหารประเทศจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ลดลง ซึ่งปัญหาเรื่องเผ่าพันธุ์นี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่ประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์มากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่รัฐบาลก็สามารถที่จะแก้ปัญหาและสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นได้

จากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศอินโดนีเซียดังที่กล่าวมา ทำให้เห็นการพัฒนาการทางการเมืองที่นำไปสู่ความเข้มแข็งตามลำดับ แม้ในแต่ละยุคจะเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ ส่งผลให้ในขณะนี้อินโดนีเซียสามารถผ่านพ้นวิกฤตทางการเมือง มีความมั่นคงและมีแนวโน้มว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะมีความมั่นคงเข้มแข็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

10 ปีเศษ ของอินโดนีเซียจากความอ่อนแอไปสู่ความเข้มแข็ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย  ย้อนมามองประเทศไทย ความมั่นคงทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตยนั้นต้องยอมรับว่าเรายังไม่มีจุดยืนที่แน่นอน ทั้งที่ผ่านความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองกันมาหลายครั้งหลายคราว แต่สังคมการเมืองไทยก็ไม่ได้ใช้บทเรียนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ การเมืองในสังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับ ?ยุคระเบียบใหม่? (Orde Baru) โดยการนำของสุฮาร์โต อันเป็นช่วงเวลาที่อินโดนีเซียประสบกับปัญหาความขัดแย้งมากมาย

มองการเมืองอินโดนีเซียแค่ช่วง 10 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้เห็นการเดินออกจากปัญหาไปสู่ความเข้มแข็งทีละก้าว แต่การเมืองไทยในช่วงเวลาเดียวกันกลับสวนทางกันโดยสิ้นเชิง


ที่มา  :  ประชาไท